แรกเริ่มเดิมทีพื้นที่แห่งนี้ไม่มีชื่อเรียกเป็นทางราชการ เนื่องจากในพื้นที่บริเวณกว้างมีต้นมะขามเก่าแก่ ขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่จำนวนมากมายหลายต้น ขึ้นต้นเองโดยธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดปลูก ชาวบ้านได้อาศัย ใช้ประโยชน์จากต้นมะขามอย่างทั่วถึง ทั้ง กิ่ง ก้าน ใบ ฝัก และลำต้นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี ในสมัยนั้น มีผู้นำท่านหนึ่งชื่อว่านายเกลา สอาดนัก ดำรงตำแหน่ง กำนันจึงได้ขนานนามตำบลนี้ว่า “ตำบลไร่มะขาม” เพื่อให้เป็นที่จดจำได้ง่ายของบุคคลทั่วไป แบ่งการปกครอง จำนวน ๙ หมู่บ้าน |
วิสัยทัศน์ตำบลไร่มะขาม “ การคมนาคมสะดวก สภาพแวดล้อมดี มีเศรษฐกิจมั่นคง ชุมชนหน้าอยู่” พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น ๑.ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชน ในอนาคต ๒.ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ๓.ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตลอดจนความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ๔.พัฒนาด้านสังคม การศึกษา และการสาธารณสุข ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ๕.ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ๖.รักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนควบคู่กับวิถีชีวิตชุมชน คำขวัญตำบลไร่มะขาม ตำบลไร่มะขาม ลือนามข้าวสาร พืชผักลูกตาล หมู่บ้านสงบสุข
|
|
สภาพทั่วไป ที่ตั้ง ๙ กิโลเมตร จากตัวเมืองเพชรบุรีตามเส้นทางถนนเพชรเกษมขาล่องใต้ ก.ม.ที่๑๗๕ ก้าวย่างเข้าสู่พื้นที่ตำบลไร่มะขาม ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลท่าเสน อำเภอบ้านลาด ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลท่าเสน และตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด เนื้อที่ ประมาณ ๘,๖๒๖ ไร่ หรือ ประมาณ ๑๓.๘๐ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทำการเกษตร (ทำนา) ประมาณ ๓,๙๗๓ ไร่ พื้นที่ทำไร่,ทำสวน ประมาณ ๑,๐๓๒ ไร่ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ประมาณ ๑,๓๑๕ ไร่ พื้นที่ปศุสัตว์ ประมาณ ๑๐๘ ไร่ พื้นที่อื่นๆ ประมาณ ๒,๑๙๘ ไร่ ภูมิประเทศ - เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง - เป็นพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร |
กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งยกฐานะจากสภาตำบล ไร่มะขาม เป็น องค์การบริหาร- ส่วนตำบลไร่มะขาม เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๖ ภายในโรงเรียนบ้านไร่ถิ่นน้อย ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ต่อมา วันศุกร์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ องค์การบริหารส่วนไร่มะขามได้ย้ายที่ทำการ มาอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๗ บ้านศาลเจ้างิ้ว ตำบลไร่มะขาม จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง |
อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงโค นอกจากนี้ยังมีรับจ้างทั่วไป ค้าขาย หน่วยธุรกิจในเขต อบต. - โรงงานอุตสาหกรรม ๑ แห่ง - โรงสี ๑ แห่ง การรวมกลุ่มของประชาชน - กลุ่มเกษตรกรทำนา - กลุ่มออมทรัพย์ - กลุ่มอาชีพสตรี - กลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี - กลุ่มสมาคมผู้สูงอายุ - กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชน - กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ - กลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม) |
การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา ๑ แห่ง (สังกัด สปช.) โรงเรียนบ้านไร่ถิ่นน้อย จำนวนเด็กนักเรียน ๔๗ คน จำนวนครู ๖ คน - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน ๙ แห่ง |
การบริการพื้นที่ การคมนาคม - ถนนเพชรเกษมตัดผ่าน ๑ สาย (ระยะทาง ๒.๕๐๐ เมตร) - ถนนคอนกรีต ๒๐.๑๙ กิโลเมตร - ถนนลาดยาง ๔ กิโลเมตร - ถนนลูกรัง/หินคลุก ๗.๖๕ กิโลเมตร ๔.๒ การโทรคมนาคม - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ๑๒ ตู้ (หมู่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙) ๔.๓ การไฟฟ้า - มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน ครัวเรือน ที่ใช้ไฟฟ้า ๖๙๗ ครัวเรือน ๔.๔ การสาธารณสุข - สถานีอนามัย ๑ แห่ง (สถานีอนามัยตำบลไร่มะขาม มีเจ้าหน้าที่ ๔ คน) - อัตราการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำห้วย ๒ แห่ง (ลำห้วยกะลาตายผ่านหมู่ ๕,๖ ,คลอง D ๑๘ ผ่านหมู่ ๑,๔,๘) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ทำนบ ๑ แห่ง (หมู่ ๕) - บ่อบาดาล ๒๓๗ แห่ง - คลองชลประทาน ๒ สาย (ผ่าน หมู่ ๒,๓,๑ และผ่านหมู่ ๔,๖,๘,๙) |